เกี่ยวกับเรา

สำนักงานการรับรองไม้เศรษฐกิจไทย Thailand Forest Certification Council : TFCC

TFCC ได้รับ Endorsement จาก PEFC
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2562

ความเป็นมา

สำนักงานการรับรองไม้เศรษฐกิจไทย (TFCC) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีความเป็นอิสระ โดยมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอุตสาหกรรม
เพื่อการเกษตร (สอก.) สถาปนาก่อตั้งสถาบันฯ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย TFCC มีจุดเริ่มต้นจากการรวมกันของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านไม้เศรษฐกิจ ประกอบด้วยเกษตรกรผู้ปลูกไม้ ภาคเอกชน นักวิชาการ ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งให้ความสำคัญกับระบบการรับรองไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล
และสนับสนุนการปลูกไม้เศรษฐกิจที่มีความยั่งยืนและถูกต้องตามกฎหมาย
สำนักงานฯ ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกของ PEFC ในฐานะหน่วยปกครองการรับรองมาตรฐานด้านป่าไม้แห่งชาติ (National Governing Body – NGB) ในเดือนพฤศจิกายน 2559 และได้รับการเทียบเคียงจาก PEFC
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา

TFCC ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกของ PEFC ในฐานะหน่วยปกครองการรับรองมาตรฐานด้านป่าไม้แห่งชาติ (National Governing Body – NGB) ในเดือนพฤศจิกายน 2559

วัตถุประสงค์

  • ส่งเสริมให้ผู้ปลูกสร้างไม้เศรษฐกิจ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ให้ได้รับการรับรองไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการจัดการอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้รับการรับรองจากองค์กรระหว่างประเทศ
  • สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ตลอดจนสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรับรองไม้เศรษฐกิจ
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองไม้เศรษฐกิจตามมาตรฐานระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ไปยังผู้ประกอบการด้านไม้เศรษฐกิจทั้งระบบ
  • จัดหลักสูตร ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของหน่วยรับรองระบบงานและหน่วยตรวจประเมิน รวมถึงผู้ตรวจประเมินที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรองไม้เศรษฐกิจ
  • ให้คำปรึกษาและเป็นแหล่งข้อมูลด้านการรับรองไม้เศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการด้านไม้เศรษฐกิจและสาธารณะ
  • บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ปลูกสร้างไม้เศรษฐกิจ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการตรวจรับรองตามมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

หน้าที่ขององค์กร

  • เป็นหน่วยงานกำกับดูแล (National Governing Body : NGB) การรับรองตามมาตรฐาน PEFC ซึ่งเป็นระบบการรับรองตามมาตรฐานระดับนานาชาติ โดยมีหน้าที่ ดังนี้
    1.  ขึ้นทะเบียนหน่วยรับรอง (Cerificationa Body : CB)
    2. ควบคุมเรื่องการใช้ฉลากและเครื่องหมายให้ถูกต้องส่งเสริมให้มีการรับรองไม้เศรษฐกิจ
  • จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับรอง
  • ส่งเสริมกิจกรรมการตลาดของการรับรอง

สถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร The Institute of Agro-Based Industries : IAI

ความเป็นมา

สถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรก่อตั้งขึ้นโดยมีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2558 เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการผลิตทางด้านการเกษตรต่างๆ ให้เข้าถึงอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการประสานและทำงานร่วมกันทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และสถาบันการศึกษา

สภาอุตสาหกรรมฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ 4 หน่วยงาน

1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2) กระทรวงอุตสาหกรรม

3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

4) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิสัยทัศน์

ยกระดับการพัฒนากระบวนการผลิต และคุณภาพสินค้าทางการเกษตร อาหาร อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้เศรษฐกิจ และพลังงานทดแทน ให้เข้าถึงอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงส่งเสริมและสร้างมาตรฐานการตรวจสอบ การรับประกัน และการรับรองในระดับสากล

พันธกิจ

  • ยกระดับการผลิตสินค้าการเกษตรให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยกระดับภาคการผลิตไปสู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น
  • สร้างความเชื่อมโยงจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำในห่วงโซ่อุปทานให้มีความต่อเนื่อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • เป็นศูนย์ข้อมูล (Data Base) ทางด้านเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม
  • สร้างตลาด โอกาสทางการแข่งขัน และโอกาสทางการตลาดให้กับอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรในทุกรูปแบบ

ยุทธศาสตร์

  • การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรอันประกอบด้วย กลุ่มเกษตรอาหาร(food) กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม (non-food) กลุ่มเกษตรพลังงาน (Energy) และ รวมถึงไม้และผลิตภัณฑ์ที่มีไม้เป็นส่วนประกอบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่ผู้ประกอบการโดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิจัย มุ่งสู่การเป็น Smart farmer
  • การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรในห่วงโซ่อุปทาน (Value chain/ จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ)
  • การพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Data Base) สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร
  • การพัฒนาและจัดทำมาตรฐานการรับรองวัตถุดิบ ผลผลิต และผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร รวมถึงกระบวนการรับรองด้าน อาหาร ประมง และป่าไม้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของตลาดภายในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก เข้าถึงตลาดสากลมากขึ้น

 

กิจกรรมและการให้บริการ

  • ส่งเสริม สนับสนุน และสนองตอบความต้องการแก่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำโดยใช้การวิจัยและพัฒนา ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ผ่านโครงการต่างๆ
  • กำกับดูแลระบบการรับรองการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (มอก.14061) และ มาตรฐานห่วงโซ่การควบคุมผลิตจากป่าไม้ (มอก.2861) รวมถึงให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เกษตรกร เกี่ยวกับการขอการรับรองมาตรฐาน และ การจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง
  • เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรในการประสานนโยบาย ดำเนินงานระหว่างรัฐกับเอกชน